admin

การเปลี่ยนรุ่น Brushless Motor

การเปลี่ยนรุ่น Brushless Motor เนื่องจาก Driver ตระกูล BLF ยกเลิกการผลิต การเปลี่ยนอุปกรณ์จะใช้ Driver ตระกูล BLE2 แทน โดยต้องเลือก BLE2 รุ่นใหม่ที่มีกำลังไฟฟ้าเท่ากัน ส่วนมอเตอร์ก็ต้องใช้มอเตอร์รุ่นใหม่ที่มีกำลังไฟฟ้าเท่ากันและหัวเกียร์ที่มี Gear ratio เท่าเดิมซึ่งตัวอย่างนี้ใช้ 1 : 50 เนื่องจากระบบเดิมในหัวข้อที่แล้ว เมื่อเราจ่ายไฟ 2.99V จะได้ความเร็วเชิงเส้นของจานเท่ากับ 10 m/min ซึ่งการที่เราเปลี่ยน driver และมอเตอร์ใหม่ แม้ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่มีกำลังวัตต์เท่ากัน ความเร็วมอเตอร์เดียวกัน และหัวเกียร์เท่ากัน แต่เมื่อจ่ายไฟ 2.99V ความเร็วของจานกลับไม่เท่ากัน กรณีนี้เนื่องจากกราฟการทำงานของ Driver ต่างกันนั่นเอง ดังนั้นถ้าต้องการให้ทุกอย่างทำงานแบบเดิม โดยที่ไม่ต้องแก้ที่แรงดันอินพุท จะต้องปรับค่า Gain และ offset ของ driver รุ่นใหม่ให้ตรงกับรุ่นเดิม จากกราฟจะเห็นว่า กราฟของ Driver ตระกูล BLE2 […]

การใช้งาน Brushless Motor

การใช้งาน Brushless Motor ของ Oriental motor รูปที่ 1 เป็นการใช้ brushless motor ขับจานที่มีรัศมี 5cm (0.05 m) โดยใช้ Driver BLF รุ่น BLFD120S2 ขนาด 120 วัตต์ ส่วนมอเตอร์เป็นรุ่น BLFM5120-GFS ขนาด 120 วัตต์ หัวเกียร์ใช้ GFS5G50 (Gear ratio 1: 50) การควบคุมเป็นแบบ Speed control ใช้แรงดัน 0-10V จาก PLC จ่ายให้ Driver จงหาว่าถ้าต้องการความเร็วเชิงเส้นที่จานหมุนเท่ากับ 10 m/min (เมตรต่อนาที) จะต้องจ่ายแรงดันให้ Driver กี่โวลท์ ? จากกราฟ เป็นความเร็วของเพลามอเตอร์เทียบกับแรงดันของ Analog input […]

Brushless DC Motor

Brushless DC Motor คือมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน ใช้สำหรับควบคุมความเร็วทั่วไป และเมื่อติดตั้ง Encoder ที่ตัวมอเตอร์ก็จะทำให้มีความเร็วที่ราบเรียบและทำงานได้นิ่งขึ้นกว่าเดิม รูปที่ 1 เป็นชุด Driver + DC motor ของ Oriental motor โดยมีส่วนประกอบดังนี้ 1. Driver คือตัวขับมอเตอร์ตระกูล BLF (ยกเลิกการผลิต) ซึ่งแหล่งจ่ายไฟใช้ได้ 3 แบบขึ้นอยู่กับรุ่นโมเดล 2. Brushless Motor โดยมีกำลังไฟฟ้าให้เลือกคือ 30W, 60W, 120W, 200W และ 400W มีความเร็ว 4000 รอบต่อนาที 3. หัวเกียร์ (Gearhead ) ใช้ลดความเร็วมอเตอร์ และเพิ่มแรงบิด โดยมี Gear ratio คือ 5,10,15,20,30, 50, 100 และ 200 […]

PROFINET

PROFINET PROFINET คือโปรโตคอลของเครือข่ายการสื่อสารที่ทำงานอยู่บนเลเยอร์ 7  ( หรือเลเยอร์ Application เทียบกับ OSI Model ) เป็นโปรโตคอลในกลุ่มของ Industrial Ethernet PROFINET เป็นโปรโตคอลที่ได้รับการพัฒนาโดยทีมบริษัทออโตเมชั่นเช่น Siemens และสถาบันต่างๆของเยอรมันหลายแห่ง PROFINET เวอร์ชั่นแรกเปิดตัวในปี ค.ศ. 2001 เรียกว่า PROFINET CBA และในปัจจุบันดูแลโดย PROFIBUS & PROFINET International (PI) , PROFINET มีโปรโตคอลย่อยดังรูปที่ 1 ⦁ PROFINET NRT ( Non Real-Time ) หรือ PROFINET TCP/IP ใช้พื้นฐานมาจาก TCP/IP (หรือ UDP/IP ) ⦁ PROFINET RT (Real-time ) […]

Ethernet/IP

Ethernet/IP (IP = Industrial Protocols) คือเครือข่ายเฉพาะทางที่ใช้ในด้านอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ เป็นโปรโตคอลอีกแบบหนึ่งของ Industrial Ethernet พื้นฐานของ Ethernet/IP มาจากโปรโตคอล CIP ซึ่งใช้ Application object ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ (device profile ) สำหรับ Ethernet/IP ถือเป็น Appplication เนื่องจากทำงานบนเลเยอร์ 7 Ethernet/IP ถูกพัฒนาโดย ControlNet international (CI) และ Open DeviceNet Vendors Association (ODVA) โปรโตคอลเปิดตัวในช่วงต้นปี ค.ศ.2000 และปัจจุบันดูแลโดย ODVA แม้ว่าในชั้น Transport ของ Ethernet/IP จะใช้โปรโตคอล TCP และ UDP เหมือนกับ Ethernet TCP/IP แต่ Upper layer […]

TCP/IP Network protocol

TCP/IP TCP/IP คือโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ผ่าน Internet , TCP/IP เป็นการรวมกันของ 2 โปรโตคอลคือ TCP (Transfer Control Protocol ) และ IP (Internet Protocol ) TCP เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการส่งผ่านข้อมูลที่เชื่อถือได้ ส่วน IP เป็นโปรโตคอลสำหรับระบุที่อยู่อุปกรณ์และการกำหนดเส้นทาง TCP/IP เป็นชื่อเรียกโปรโตคอลในเลเยอร์ Internet และเลเยอร์ Transport ดังนั้นจึงไม่ใช่ Application แต่มี Application จำนวนมากที่นิยมใช้ TCP/IP การใช้งานมีทั้งด้านฝั่งผู้บริโภค เช่นการส่งอีเมล์ รวมทั้งด้านออโตเมชั่นเช่นการสื่อสารระหว่าง PLC และคอมพิวเตอร์ TCP/IP ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดย Vint Cerf และ Bob Kahn นักวิจัยของ Defense Advanced Research Project […]

OSI Model

OSI Model (OSI = Open Systems Interconnection ) หรือแบบจำลอง OSI คือแบบจำลองมาตฐานสำหรับเครือข่ายการสื่อสาร ( Network communication ) แบบจำลอง OSI ถูกนำเสนอในปี ค.ศ. 1983 โดย major computer และ telecom companies และนำมาใช้โดย ISO ( International Organization for Standardization) ในปี ค. ศ. 1984 แบบจำลอง OSI เป็นการแยกย่อยฟังก์ชันของเครือข่ายการสื่อสารออกเป็น 7 ชั้น ( layer ) รูปที่ 1 แสดงชื่อในแต่ละชั้น รายละเอียดโดยสรุป และหน่วยของข้อมูล แต่ละเลเยอร์จะทำงานตามฟังก์ชั่นของตัวเองรวมทั้งทำงานร่วมกับเลเยอร์ที่ขนาบข้างตัวเองเมื่อเจาะรายละเอียดในแต่ละชั้น ก็จะมีรายละเอียดทางเทคนิคมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะทางด้านการสื่อสาร ในการไหลของข้อมูล กรณีผู้ใช้งานส่งข้อมูล […]

ชวนร่วมแข่งขัน PLC และ Robot

🌟 ชวนเข้าร่วมการแข่งขัน “PLC and Automation Competition” 🌟 📅 วันที่ 5-7 มีนาคม 2568 📍 สถานที่: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 💡 ร่วมสนุกพร้อมพัฒนาทักษะด้าน PLC และ Automation! – 🛠️ หลักสูตรพิเศษ: เรียนรู้การโปรแกรม PLC 2 วัน และทดสอบ 1 วันพร้อมรับ Certificate จาก Mitsubishi Electric – 🤖 วันแข่งขัน: ประลองการเขียนโปรแกรม PLC หนึ่งวันเต็ม! 🎯 คุณสมบัติผู้เข้าร่วม: รุ่นที่ 1: (ระดับมัธยมปลายหรือ ปวช.) “PLC Beginners Arena: Basic Automation Skills” เน้นการปูพื้นฐานและพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรม PLC […]

คู่มือการเขียน HMI GOT2000 โดย GT Designer3

คู่มือการเขียน HMI GOT2000 โดย GT Designer3 ในรูปแบบของ Online Book ขั้นตอนการใช้งาน Online book 1. คลิกลิงค์ คู่มือการเขียน HMI GOT2000 โดย GT Designer3 | 2. เลือกหัวข้อที่ต้องการ 3. เลือก Login 4. กรอก User name และ Passord แล้วคลิก Login

1 2 3 10
Copyright © 2019. All rights reserved.

You cannot copy content of this page

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.